วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึการเรียนการสอนครั้งที่ 16


วันอังคาร ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556

บันทึกครั้งที่ 16

เนื้อหาที่อาจารย์สอน
1. เรื่องเสื้อสูท
2. การสอบนอกตาราง วันที่ 26 ก.พ. 2556
3. งานกีฬาสี - ปัจฉิม วันที่ 2 - 3 มี.ค. 2556
4. ศึกษาดูงานที่หนองคาย - ลาว วันที่ 6 - 8 มี.ค. 2556
5. มาตราฐาน สาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
6. บล็อก
7. อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนว่า ได้ความรู้อะไรบ้าง ได้ทักษะอะไรบ้างจากการเรียนวิชานี้ และวิธีการสอนในความเข้าใจของเราคืออะไร

วันอังคาร ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556

เนื้อหาที่อาจารย์สอน
1. เรื่องเสื้อสูท
2. การสอบนอกตาราง วันที่ 26 ก.พ. 2556
3. งานกีฬาสี - ปัจฉิม วันที่ 2 - 3 มี.ค. 2556
4. ศึกษาดูงานที่หนองคาย - ลาว วันที่ 6 - 8 มี.ค. 2556
5. มาตราฐาน สาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
6. บล็อก
7. อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนว่า ได้ความรู้อะไรบ้าง ได้ทักษะอะไรบ้างจากการเรียนวิชานี้ และวิธีการสอนในความเข้าใจของเราคืออะไร 




บันทึกการเรียนครั้งที่ 15


วันอังคาร ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556

เนื้อหาที่อาจารย์สอน
1.สอบสอนเป็นกลุ่ม
2.อาจารย์แนะนำติชมการสอนของนักศึกษาแต่ละคน และให้กลุ่มที่ยังไม่ได้สอบไปปรับปรุงแก้ไขให้ดี
3.อาจารย์พูดถึงงานวันพุธเกี่ยวกับการแสดงต่างๆ ในเรื่องของความพร้อมในการแสดง ชุดการแสดงมีอะไรบ้าง



บันทึกครั้งที่14


 วันอังคาร ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556

เนื้อหาที่อาจารย์สอน
1. กิจกรรมการแสดงงานวันพุธ เรียกดูการแสดงต่างๆ เพื่อดูความคืบหน้าและความพร้อมในการแสดง
2. สอบสอนของแต่ละกลุ่ม
3. งานให้สรุปมาตรฐานเป็น Mind Map ทำด้วยโปรแกมแล้วใส่ในบล็อก



สรุป มาตราฐานและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย

สรุป มาตราฐานและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
มาตราฐานและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย

บันทกการเรียนการสอนครั้งที่13


วันอังคาร ที่ 29 มกราคม 2556


เนื้อหาที่อาจารย์สอน

1.งานกีฬาสีของเอก
2.กิจกรรมการแสดงวันพุธ
- คิดการแสดงต่างๆ
- แบ่งหน้าที่การทำงานของแต่ละคน
รำ
ร้องเพลง
โฆษณา
พิธีกร
การแสดงโชว์
ผู้กำกับหน้าม้า
หน้าม้า
3.อาจารย์ประยุกต์กิจกรรมการแสดงวันพุธ ให้เป็นการสอนที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ 

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 12


วันอังคาร ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

เนื้อหาที่อาจารย์สอน
1.เพื่อนสาธิตการสอนเรื่อง ขนมไทย เรื่องข้าว เรื่องกล้วย
2.ให้ไปหางานวิจัย อ่านแล้วสรุปสั้นๆลงในบล็อกและลิงค์งานวิจัยใส่ด้วย
3.พูดถึงเรื่องบล็อก การทำบล็อก การตกแต่งบล็อก
4.อาจารย์ให้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนของแต่กลุ่ม
5.มาตราฐานคณิตศาสตร์ 6 สาระ 6 มาตราฐาน
6.การทำสื่อคณิตศาสตร์ ตัวอย่างสื่อคณิตศาสตร์

สอบสอน หน่วย กล้วย

สอบสอน หน่วย กล้วย
ลักษณะของกล้วย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 15 มกราคม 2556
- เพื่อนออกไปสอนได้ 1 กลุ่ม 
- อาจารย์แนะนำวิธีการสอนที่สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ และการพูดในชั้นเรียนที่จะให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์

    


บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 8 มกราคม 2556

- ส่งดอกไม้ 3 ดอก ที่สั่งเมื่อคาบที่ผ่านมา
- พูดคุยเกี่ยวกับเรื่อง มาตรฐานคณิตศาสตร์ของสสวท.



สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
      มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ 
               มาตรฐานค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง      
สาระที่ 2 : การวัด 
               มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา      
สาระที่ 3 : เรขาคณิต 
               มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง 
               มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ      
สาระที่ 4 : พีชคณิต 
               มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์      
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
               มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ      
สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

วันอังคารที่ 1 มกราคม 2556



หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดปีใหม่

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม 2555




หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่7

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2555



หมายเหตุ: ไม่มีการเรียนการสอน 
เนื่องจากอาจารย์ติดธุระและอาจารย์ได้ให้ทำงานที่มอบหมายไว้ให้

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2555

- เอากล่องที่สั่งให้เอามา แล้วอ.ถามว่า
       เห็นกล่องแล้วนึกถึงอะไร?
       อยากให้กล่องนี้เป็นอะไร? 
       ใช้ทำอะไร?
    การที่จะถามเด็กนั้น เราควรใช้คำถามที่เด็กรู้สึกไม่กดกัน ไม่กลัวผิด ใช้คำถามที่เด็กได้คิด ได้ตอบตามจินตนาการของ แล้วเด็กก็จะมีความสุขในการตอบ ไม่รู้สึกกลัวว่าจะตอบผิด เด็กจะเชื่อมโยงกับสิ่งที่เคยรู้มา เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด 
- การสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยนั้น ต้องสอนให้ถูกวิธีการเรียนรู้ ตามธรรมชาติของเด็ก ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5


การต่อกล่อง
ครั้งที่ 1
- ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน แล้วนำกล่องมาต่อ โดยไม่ปรึกษากัน  ให้ต่อตามจินตนาการของตนเอง แล้วจะได้ผลงานมา 1 ชิ้น หลังจากนั้นก็ถามที่ละคน ว่าตอนที่กำลังจะต่อกล่อง อยากให้เป็นอะไร ซึ่งคำตอบของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับจินตนาการของคนต่อ
ครั้งที่ 2
- ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ต่อกล่องโดยปรึกษากัน ว่าจะต่อเป็นรูปอะไร การต่อกล่องแบบนี้ จะทำให้เด็กเกิดการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักการรอคอย และการต่อกล่องนี้ ยังช่วยเสริมประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการแยกประเภทของรูปทรงของกล่อง กานับกล่อง การวัด การจับคู่ เป็นต้น
ครั้งที่ 3
- ให้นักศึกษาทั้งห้อง เอาผลงานของแต่ละกลุ่มมารวมกันเป็นงานชิ้นเดียว และให้นำกล่องหรืออุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่มาประกอบการสร้างชิ้นงาน การต่อกล่องแบบนี้ เป็นการเสริททักษะทางคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดประเภทของกล่อง การจับคู๋ การวัด รูปทรงและเนื้อที่ เป็นต้น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


 บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2555

- ส่งเรียงความของกลุ่มตัวเอง
- ส่งตัวแทนของแต่ละกลุ่ม  ออกมาเสนอเรียงความให้เพื่อนฟัง
- อาจารย์ได้แนะนำ เพิ่มเติม เกี่ยวกับเนื้อหาเรียงความของแต่ลละกลุ่ม
- อาจารยให้แต่ละกลุ่ม แบ่งกันสอนคนละ 1 วัน
ตัวอย่าง เช่น  หน่วย ไข่
ขั้นนำ   เพลง, คำคล้องจอง, นิทาน, ปริศนาคำทาย, เกม
วันจันทร์    สอนเรื่อง ชนิด
วันอังคาร   สอนเรื่อง  ลักษณะ,พื้นผิว,ส่วนประกอบ เช่น ไข่ขาว, ไข่แดง, เปลือก
วันพุธ         สอนเรื่อง  ประโยชน์ เช่น ประโยชน์ในตัวเอง,นำไปประยุกต์ใช้
วันพฤหัสบดี  สอนเรื่อง  ประกอบอาหาร
วันศุกร์       สอนเรื่อง  ข้อควรระวัง, การแปรรูป, การขยายพันธุ์, การดูแลรักษา

กลุ่มของดิฉันได้สอน หน่วยเรื่องของนาฬิกา ดิฉันได้สอนวันอังคาร เรื่องส่วนประกอบของ สื่อการสอนที่ใช้ มีดังต่อไปนี้ เพลงนาฬิกา รูปภาพนาฬกา 2 แบบ แบบเข็มและแบบดิจิตอล






ขั้นนำ


- ร้องเพลงนาฬิกาแล้วให้เด็กๆร้องตาม แล้วสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับเพลงของนาฬิกาที่ร่วมกันร้อง เช่นถามเด็กๆว่าในเพลงที่ร้อง พูดถึงอะไรบ้าง




ขั้นสอน


- ใช้คำถามกับเด็กเพื่อเชือมโยงประสบการณ์เดิม เช่นเด็กๆรู้จักนาฬิกาและนาฬิกาที่เด็กๆเห็นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง เช่น เข็มสั้น เข็มยาว ตัวเลขบนหน้าปัดนาฬิกา


- นำสื่อการสอน นำภาพของนาฬิกาข้อมือ นาฬิกาแบบตั้งโต๊ะ แบบมีเข็ม และแบบตัวเลข(หรือนาฬิกาดิจิตอล) มาให้เด็กดูแล้วให้เด็กสังเกต และก็ถามเด็กๆถึงข้อแตกต่างของนาฬิกาทั้ง 2 แบบ เด็กจะเกิดการเปรียบเทียบและตอบคำถามตามที่เด็กเห็นในรูป



ขั้นสรุป


- ครูและเด็กร่วมกันสนทนาพูดคุยและสรุปผลถึงส่วนประกอบของนาฬิกาว่ามีอะไรบ้าง เข็มสั้น เข็มยาว ตัวเลข



สิ่งที่ได้รับในการสอบสอน


จาก การสอนของอาจารย์ทำให้เรารู้ถึงเทคนิควิธีการสอน การลำดับขั้นตอนการสอนได้ถูกต้อง และวิธีการสอนเด็กควรจะเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของเด็กเพื่อให้เด็กได้เกิด กระบวนการคิด เพื่อให้เด็กพัฒนาสติปัญญา และเทคนิควิธีต่างๆที่ได้เรียนและอาจารย์คอยให้คำแนะนำ ทำให้เราเกิดทักษะในการปฏิบัติให้มีความถนัดและคล่องแคล่วในต่อไป

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4


วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2555



- อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้ทำ mind mapping  ของกลุ่มตัวเองส่งเป็นรายบุคคล
- อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำ mind mapping 
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองาน 12 หัวข้อ  ได้แก่
  1. การนับ
  2. ตัวเลข
  3. การจับคู่
  4. การจัดประเภท
  5. การเปรียบเทียบ
  6. การเรียงลำดับเหตุการณ์
  7. รูปทรง
  8. เศษส่วน
  9. การวัด
 10. เซต
 11. การทำตามแบบ
 12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2555

              เพลง โปเล่ โปลา
โปเล่ โปเล่ โปลา โปเล โปเล โปลา
เด็กน้อยยื่นสองแขนมา มือซ้ายขาว ทำลูกคลื่นทะเล
ปลาวาฬ พ่นน้ำเป็นฝอย ปลาเล็ก ปลาน้อย ว่ายตาม
ปลาวาฬ นับ 1 2 3 ใครว่ายตาม ปลาวาฬจับตัว 
สอนเรื่อง    - การนับปากเปล่า
                    - ทิศทางซ้าย-ขวา
                    - ตำแหน่ง
การเอาคณิตศาสตร์มาใช้ตรงไหนที่จะเป็นเครื่องมือในการสอน
   - จัดทำหน่วย
   - ให้มีสาระเป็นทุ่นลอย

 ขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้


1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น



2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้
เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม



3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน



4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้



5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า



6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น



7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ



8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน



9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น



10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ ครึ่งหรือ ?



11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์



12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

บันทึกการเรียนรู้ ครั้ที่ 2


 บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน 2555

- อาจารย์แจกกระดาษ 4 คน ต่อ 1 แผ่น ให้นักศึกษาวาดภาพอะไรก็ได้ที่ชอบ 1 ภาพพร้อมทั้งเขียนชื่อ-นามสกุล 

- ภาษาและคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
- เด็กเมื่อนับ 1 2 3 4 5 6 ถามว่าเท่าไร เด็กจะตอบไม่ได้ว่า 6 ให้นับว่า
         มีอยู่ 1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2
         มีอยู่ 2 เพิ่มอีก 1 เป็น 3
         มีอยู่ 3 เพิ่มอีก 1 เป็น 4
         มีอยู่ 4 เพิ่มอีก 1 เป็น 5
         มีอยู่ 5 เพิ่มอีก 1 เป็น 6
- จะติดหรือเขียนอะไรให้เริ่มจากซ้าย ไปขวา เพราะคนเราเขียนจากซ้ายไปขวา
- การสร้างเกณฑ์ควรสร้า้งเกณฑ์เดียว เพื่อให้เด็กคิดวิเคราะห์ได้ ผลไม้เลือกมา 1 เกณฑ์ เช่น ผลไม้ที่มีสีแดง
- อาจารย์ให้ฟังเพลงซ้ายขวา เพลงกบกระโดด เพลงแมลงปอ

เกมการศึกษา( Didactic Game )



   ความหมายของเกมการศึกษา
            เกมการศึกษาเป็นนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบซึ่งมีการดัดแปลงรูปแบบวิธีการมาเรื่อยๆซึ่งมีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้
            สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้กล่าวถึงความหมายของเกมการศึกษาไว้ว่า เกมการศึกษาหมายถึง กิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่น ตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536 : 32) ให้ความหมายของเกมการศึกษาดังนี้ เกมการศึกษา (Diclaetic Game) หมายถึง กิจกรรมการเล่นที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพื่อเป็นพื้นฐานการศึกษา มีครูและกติกาการเล่นมีกระบวนการเล่นเป็นสิ่งที่เร้าก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน
บุญชู สนั่นเสียง (2527 : 29) ได้ให้ความหมายเกมการศึกษา หมายถึง อุปกรณ์
เครื่องช่วยสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับความพอใจและความสนุกสนาน อีกทั้งยังท้าทายที่จะให้เด็กเล่นเสมอ ช่วยให้เด็กมีความพร้อมได้ทุกด้าน แต่เน้นด้านสติปัญญา เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสกับ กล้ามเนื้อมือ ฝึกการสังเกต เปรียบเทียบในเรื่องรูปทรง จำแนกประเภท และฝึกหาเหตุผล
สุวิมล ต้นปิติ (2536 : 32) ได้ให้ความหมายว่า เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีลักษณะ
แข่งขันกันโดย ผู้เล่นจะต้องเล่นอยู่ภายใต้ครู เกณฑ์และกติกาตามที่ได้วางไว้ ผู้เล่นอาจจะมีตั้งแต่หนึ่งคน สองคน หรือเป็นทีม ซึ่งการเล่นเกมถือว่าเป็นกิจกรรมการเล่นที่มีการประเมินผลความสำเร็จของผู้เล่นไปในตัว ซึ่งจะช่วยให้ผู้เล่นเกิดความกระตือรือร้น ฝึกสติปัญญาและไหวพริบ
กรรณิกา สุขมาก (2539 : 24) ได้ให้ความหมายว่า เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีครู เกณฑ์กติกาที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานมีวัตถุประสงค์ในการอ่านและส่งเสริมให้เกิดทักษะด้านต่างๆ
ดวงเดือน วังสินธ์ ( 2532 : 40 ) กล่าวว่า เกมเป็นการแข่งขัน ซึ่งมีเวลากำหนดแน่นอน มีกฎ กติกาที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก และเป็นการเล่นที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน
มณฑาทิพย์ อัตตปัญโญ ( 2542 : 20 ) กล่าวว่า เกมเป็นกิจกรรมการเล่น หรือการแข่งขัน เพื่อการเรียนรู้ มีกำหนดจุดมุ่งหมาย กฎเกณฑ์ กติกา ผู้เล่น วิธีการเล่น การตัดสินผลการเล่นเป็นแพ้หรือชนะการนำเกมมาประกอบการสอน จะช่วยให้ห้องเรียนมีชีวิตชีวา บทเรียนนั้นๆ น่าสนใจไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ก่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน นักเรียนมีโอกาสใช้ปฏิภาณไหวพริบของตน สามารจดจำบทเรียนได้ง่าย เร็ว และจำได้นาน นอกจากนี้การที่เด็กได้เล่นเกมจะได้ความรู้ทางวิชาการ และยังช่วยพัฒนาสติปัญญาตลอดจนความเจริญเติบโตของร่างกายด้วย
จากความหมายของเกมการศึกษาดังกล่าว สรุปได้ว่าเกมการศึกษา หมายถึง เกมที่เน้นกิจกรรมการเล่นโดยมีครูและกติกาที่ช่วยพัฒนาความคิด เป็นพื้นฐานสำคัญของการเตรียมความพร้อมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน มีกระบวนการเล่นที่ช่วยฝึกทักษะความพร้อมทั้ง 4ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคม และสติปัญญา เพื่อตอบสนองความต้องการตามวัยของผู้เรียน
 
จุดมุ่งหมายของเกมการศึกษา
1. รู้จักสังเกต เปรียบเทียบ และจำแนก
2 . ส่งเสริมการคิดหาเหตุผล และตัดสินใจแก้ปัญหา
3. ส่งเสริมพัฒนากล้ามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
4 . ส่งเสริมการเล่นร่วมกัน
5. เพื่อให้มีความกล้าในการแสดงออก กล้าพูด กล้าคิด กล้าเขียน ตลอดจนฝึกการใช้
   กล้ามเนื้อมือและสายตา
6. ส่งเสริมให้เป็นคนมีน้ำใจนักกีฬา
จากจุดมุ่งหมายดังกล่าวได้นำมาใช้ในการฝึกภาษา ได้มีคนนำเกมมาประยุกต์ใช้โดยมี
จุดมุ่งหมาย ดังนี้ (สุวิมล ตันปิติ 2536 : 32)
1. เน้นกิจกรรมที่จะพัฒนาร่างกาย ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เสริมสร้างให้มีการ
ตื่นตัว มีบรรยากาศที่แตกต่างไปจากการฝึกภาษาตามปกติ
2. เป็นการสร้างบรรยากาศที่สนับสนุน จะช่วยให้นักเรียนสนใจบทเรียนทางภาษา
และเกมที่ใช้เล่นในห้องเรียน นักเรียนยังสามารถนำไปเล่นนอกชั้นเรียนได้
3 . เป็นกิจกรรมที่เน้นเทคนิคหนึ่งในการสอนไวยากรณ์ ระบบเสียงของภาษาได้ดี
ราศี ทองสวัสดิ์ (2533 : 22) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของเกมการศึกษาว่า เป็นการให้
รู้จักสังเกตและเปรียบเทียบรูปภาพและวัสดุสิ่งของต่างๆ ใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล การ
ตัดสินใจแก้ปัญหาการใช้กล้ามเนื้อมือและตาประสานกัน เตรียมความพร้อมในการอ่านและเขียนให้ได้ตามพื้นฐาน ทำให้รู้การเรียนวิชาต่างๆ ในที่สูงขึ้น
อุษา กลเกม (2533 : 38) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของเกมการศึกษาว่า เกมการศึกษาเป็น
ของเล่นที่ช่วยให้ผู้เรียนที่มีความสังเกตที่ดี มีความสามารถในการมองเห็นและจำแนกด้วยตา เกมการศึกษาแตกต่างกับการเรียนอย่างอื่นตรงที่ว่า เกมการศึกษาแต่ละชุดมีวิธีการเล่นโดยเฉพาะและประหยัดสามารถเล่นซ้ำๆ ได้ ถ้าวัสดุคงทนใช้ได้นาน สีสันสะดุดตาเด็ก เกมการศึกษาที่จะช่วยให้ผู้เล่นมีความพร้อมนั้น จะต้องครอบคลุมจุดประสงค์ไว้หลายประการ เกมการศึกษาแต่ละชุดอาจจะช่วยให้ผู้เล่นบรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างได้ จุดประสงค์หลักที่ผู้เล่นได้รับคือความสามารถจำแนกด้วยตา คิดหาเหตุผล คิดแก้ปัญหา แยกจำแนกประเภทเสียง หาความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับสัญลักษณ์
เทพวาณี หอมสนิท ( 2520 : 1 ) กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของการเล่นเกมมีดังนี้
1. เพื่อสอนให้สนองสังคม โดยให้ความร่วมมือและมีการแข่งขัน
2. เพื่อพัฒนาทักษะที่ต้องการและเทคนิคการเล่น
3. เพื่อสอนให้รู้จักทำงานที่ดีที่สุด เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มคน
4 เพื่อพัฒนาในด้านการเป็นผู้นำและเป็นผู้ตามที่ดี
5. เพื่อพัฒนาให้เด็กรู้จักเคารพในการตัดสิน และเห็นความสำคัญของการมีกฎ
    กติกา
6.เพื่อให้เข้าใจกฎ กติกา มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มีความตื่นตัวและความรู้สึกว่าตน
   เป็นส่วนหนึ่งของสังคม
เกศินี โชติกเสถียร ( 2529 : 76 ) กล่าวว่า จุดมุ่งหมายของการเล่นเกมมีดังนี้
1. เพื่อสื่อความหมาย
2. ส่งเสริมในการตัดสินใจ
3. เพื่อให้รู้จักการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
4 . เพื่อให้รักความยุติธรรมและความถูกต้อง
5. เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
6. เพื่อฝึกความจำและความคิดรวบยอด
7. เพื่อให้รู้จักปรับตัว
8. เพื่อให้มีความกล้าเพิ่มขึ้นในการแสดงออก กล้าพูด กล้าเขียน ตลอดจนฝึก
การใช้กล้ามเนื้อและสายตาส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนมีน้ำใจนักกีฬา
9. เพื่อให้ได้รับความสนุกสนานในการเรียน
จากเหตุผลดังกล่าว พอสรุปเป็นจุดประสงค์ที่มุ่งให้เกิดแก่ผู้เล่นเกมการศึกษา คือ การ
เป็นคนช่างสังเกต ช่วยให้มองเห็นสิ่งที่ควรที่จะได้เห็น ได้ฟัง หรือคิดอย่างรวดเร็ว รู้จักการ
เปรียบเทียบด้วยการใช้เหตุและผลมาประกอบ การพิจารณาช่วยให้เด็กมีความพร้อมทุกด้าน เป็น
การ ปูพื้นฐานการเตรียมความพร้อมในการเรียนในระดับต่อไป
 

การใช้เกมการศึกษาประกอบการเรียนการสอน
การเล่นเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตเด็กเพราะในขณะที่เด็กเล่นนอกจากจะได้รับความ
สนุกสนานแล้วยังเป็นโอกาสให้เด็กได้แสวงหาความรู้ ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง การที่
เด็ก ได้ทำ ได้สัมผัส ได้ลองผิดลองถูก ได้สังเกตจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กค่อยๆ เกิดความเข้าใจ
ตนเอง ผู้อื่น เด็กได้ใช้ความคิดริเริ่มปล่อยความคิดคำนึงไปตามเหตุการณ์ที่เล่น คิดหาเหตุผล
และการตัดสินใจ นอกจากนี้การเล่นยังส่งเสริมความเจริญงอกงามทางด้านสังคมของเด็ก ช่วยให้เด็กรู้จักควบคุมตนเอง คิดถึงผู้อื่นรู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบต่างๆ ทำให้เด็กเป็นคนมีวินัย รักหมู่คณะ การเล่นจึง เป็นการเรียนรู้สำหรับเด็กเป็นความสุขในชีวิตเด็ก เป็นสิทธิที่เด็กๆ ทุกคนควรมี (ศิริกาญจน์ โกสุมภ์ 2521 : 36)
หากในการใช้เกมควรเลือกเกมให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย มีความเหมาะสมกับวัย
ของเด็กใช้เวลาสั้นๆ เหมาะแก่ความสนใจของเด็ก และสิ่งสำคัญต้องคำนึงถึงความปลอดภัยใน
การเล่น (ลออ ชุติกร 2525 : 19)
เกมการศึกษาจะช่วยให้ผู้เล่นมีความพร้อมที่จะเรียน อ่าน เขียน ด้วยความสนุกสนานและสามารถจดจำเนื้อหาได้อย่างแม่นยำ เกมจะต้องครอบคลุมจุดประสงค์ไว้หลายประการ เกมแต่ละชุดอาจจะให้ผู้เล่นสามารถบรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใด หรือบรรลุเป้าหมายหลายอย่างในคราวเดียวกัน นอกจากนี้ยังเป็นการเล่นที่ช่วยพัฒนาสติปัญญา มีกฎเกณฑ์กติกาง่ายๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่ม ช่วยให้เด็กรู้จักการสังเกต คิดหาเหตุผล และ
เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสี รูปร่าง จำนวน และความสัมพันธ์ เกมการศึกษาจะมีความแตกต่างจากการเล่นอย่างอื่น เช่น การเล่นตุ๊กตา เครื่องเล่นสนาม หรือเกมพลศึกษา ตรงที่ว่าแต่ละชุดจะมีวิธีเล่นเฉพาะสามารถวางเล่นบนโต๊ะได้ ผู้เล่นสามารถตรวจสอบว่าการเล่นถูกต้องหรือไม่ด้วยตนเอง 
การฝึกความพร้อมในการอ่านให้แก่เด็กอาจทำได้หลายวิธี วิธีหนึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ได้แก่ การใช้แบบฝึกหัด ซึ่งมักเป็นรูปเล่ม เด็กจะต้องทำลงในเล่มนั้นๆ ตามคำสั่ง เช่น กาเครื่องหมายกับภาพที่สื่อ ให้โยงเส้นจากภาพหนึ่งไปอีกภาพหนึ่ง เป็นต้น ดังนั้นเมื่อทำแล้วไม่สามารถนำกลับมาทำซ้ำได้อีกเว้นแต่จะลบรอยขีดออก ทำให้ไม่สะดวก ไม่ประหยัด และเป็นการไม่สนองตามความต้องการของเด็กวัยนี้ที่ชอบทำสิ่งที่ถูกใจซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อเป็นทางแก้ปัญหาดังกล่าว และให้บังเกิดประโยชน์กว้างขวางยิ่งนัก การฝึกโดยการใช้เกมการศึกษาจะให้ประโยชน์ดีกว่า และประหยัดกว่าเพราะเด็กอาจเล่นซ้ำได้อีกประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งถ้าทำด้วยวัสดุคงทน แต่ละชุดจะใช้ได้หลายปี
นอก จากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีผลที่ตามมาดังเช่น การฝึกให้เด็กได้จัดภาพให้ขอบเสมอกัน วางเรียงกันเป็นชุดๆ ให้เป็นระเบียบซึ่งจะช่วยให้เด็กเป็นคนทำงานอย่างมีระเบียบ แล้วยังช่วย
ฝึกประสาทสัมพันธ์อีกด้วย การเล่นอาจเล่นร่วมกันหลายคน เป็นการเรียนรู้ร่วมกันมีการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ การกระทำเช่นนี้จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทั้งด้านอารมณ์ และสังคมไปด้วยกัน
หลักในการการนำเกมมาใช้ในการเรียนการสอน
ควรพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ต่างๆ ดังนี้
1. หลักในการนำเกมการศึกษามาใช้ประกอบการเรียนการสอน
2. ศึกษาจุดประสงค์ในการใช้เกมนั้นๆ ว่าจะใช้สอนอะไร
3. สถานที่ที่จะใช้เล่นเกมว่าจำเป็นต้องใช้ที่กว้างมากน้อยเพียงใด เพราะเกมจะต้องมี
การเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
4. จำนวนนักเรียนที่จะเล่นเกม เพราะเกมบางเกมจะได้ผลต้องใช้ผู้เล่นเป็นกลุ่มใหญ่
หรือเป็นทีม เช่น
4.1 เกมนั้นมีการแข่งขันกันเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
4.2 อายุและวัยของนักเรียน การนำเกมที่มาใช้เหมาะสมหรือไม่เพียงใด
4.3 ควรเลือกเกมหลายๆ แบบ
4.4 ควรกำหนดเวลาที่แน่นอน ในแต่ละกลุ่มจะใช้เวลาเล่นเท่าใด
4.5 การวางแผนการเล่นเกมก่อนทุกครั้ง
4.6 ต้องแปลงเกมต่างๆ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์
การนำเกมการศึกษาไปใช้ครูควรเตรียมเกมการศึกษาไว้ให้เพียงพอ ลักษณะของ
เกมอาจเป็นภาพตัดต่อ การจับคู่ภาพเหมือน โดมิโน การแยกหมู่ ฯลฯ เวลาที่ใช้ฝึกกำหนดไว้เป็น 1 กิจกรรม เพราะอุปกรณ์แต่ละชุดจะให้ผลต่อเด็กไม่เหมือนกัน ดังนั้นครูจึงควรจัดหมุนเวียนให้เด็กได้เล่นหรือฝึกทุกชนิด เกมหรืออุปกรณ์ที่จะใช้ควรมีพอที่จะหมุนเวียนกันอยู่เสมอ หากว่าจำเจเด็กอาจจะเบื่อ ไม่อยากเล่น (อุษา กลเกม 2533 : 39) ควรลำดับเกมตามความสามารถ เริ่มจากสิ่งที่ไม่ละเอียดนัก เพราะเด็กจะสังเกตสิ่งที่ใหญ่ก่อนเมื่อเด็กมีความสังเกตจดจำมากแล้ว จึงจะให้เด็กสังเกตส่วนย่อยๆ หรือส่วนละเอียดมากขึ้น ดังนั้นจึงควรให้เด็กได้เล่นเกมที่มีความยากมากขึ้นเพื่อให้เด็กรู้จักคิด รู้จักการสังเกตจดจำ อย่างมีเหตุผลมากขึ้น (อารี เกษมรัต 2533 : 24)
 เกม ทุกเกมมีกติกาข้อบังคับในการเล่นต้องคำนึงถึงช่วงความสนใจของเด็กโดยเหมาะสม ด้วย มิฉะนั้นการจัดเกมการศึกษาจะไม่ประสบความสำเร็จ ข้อควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการนำมาใช้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก คือ อายุ และวุฒิภาวะของเด็ก เด็กจะชอบเกมเคลื่อนไหว ความสามารถของเด็กแต่ละวัยไม่เหมือนกัน ระดับความสามารถและความพอใจของเด็ก ดังนั้นเกมอาจจะปรับให้เหมาะสมกับความต้องการ และสภาพแวดล้อมได้ลักษณะของเกมการศึกษาที่นำมาใช้ประกอบการเรียนนั้น มีความยากง่ายแตกต่างกันในเรื่องเนื้อหาและลักษณะของเกมแต่ละประเภท
ประเภทของเกมการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จัดประเภทของเกมการศึกษาไว้ตามหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการแยกประเภทของเกม แต่ละชนิดดังนี้
1.จับคู่
เพื่อให้เด็กได้ฝึกสิ่งที่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน ซึ่งอาจเป็นการเปรียบเทียบภาพ
ต่างๆ แล้วจัดเป็นคู่ๆ ตามจุดมุ่งหมายของเกมแต่ละชุดของเกมจับคู่ประกอบด้วย
1.1 เกมจับคู่ที่เหมือนกันหรือสิ่งเดียวกัน
1.1.1 จับคู่ที่เหมือนกันทุกประการ
1.1.2 จับภาพกับเงาของสิ่งเดียวกัน
1.1.3 จับภาพกับโครงร่างของสิ่งเดียวกัน
1.1.4 จับภาพที่ซ่อนอยู่ในภาพหลัก
1.2 เกมจับคู่ภาพที่เป็นประเภทเดียวกัน
1.3 เกมจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กัน
1.4 เกมจับคู่ภาพสัมพันธ์แบบตรงข้าม
1.5 เกมจับคู่ภาพเต็มกับภาพที่แยกส่วน
1.6 เกมจับคู่ภาพชิ้นส่วนที่หายไป
1.7 เกมจับคู่ภาพที่ซับซ้อน
1.8 เกมจับคู่ภาพที่สมมาตรกัน
1.9 เกมจับคู่ภาพที่มีความสัมพันธ์กันแบบอุปมา อุปมัย
1.10 เกมจับคู่ภาพที่มีเสียงสระเหมือนกัน
1.11 เกมจับคู่ภาพที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน
1.12 เกมจับคู่แบบอนุกรม
2. การต่อภาพให้สมบูรณ์ (Jigsaw)
3. การวางภาพต่อปลาย (Domino)
3.1 เกมโดมิโนภาพเหมือน
3.2 เกมโดมิโนภาพสัมพันธ์
3.3 เกมโดมิโนผสม 5
4. การเรียงลำดับ
4.1 เกมเรียงลำดับขนาด
4.2 เกมเรียงลำดับหมู่ของภาพ
5. การจัดหมวดหมู่
5.1 เกมการจัดหมวดหมู่ของวัสดุ
5.2 เกมการจัดหมวดหมู่ของภาพ
5.3 เกมการจัดหมวดหมู่ของรายละเอียดของภาพ
5.4 เกมการจัดหมวดหมู่ภาพกับสัญลักษณ์
6. การสังเกตรายละเอียดของภาพ (Lotto)
7. การจับคู่แบบตารางสัมพันธ์
8. พื้นฐานการบวก
9. การทำความสัมพันธ์ตามลำดับที่กำหนด
( สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. , 2536 : 42)
โคลัมบัส (Kolumbus 1979 , อ้างถึงใน เยาวพา เตชะคุปต์ 2533 : 54 ) แบ่งเกมออกเป็น 6 ประเภทใหญ่คือ
1. เกมฝึกกระทำ (Manipulative Games)
2. เกมการศึกษา (Didactive Games)
3. เกมฝึกทักษะทางร่างกาย (Physical Games)
4. เกมฝึกทักษะทางภาษา (Language Games)
5. เกมทายบัตร (Card Games)
6. เกมพิเศษต่างๆ (Special Games)
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ รวบรวมประเภทของเกมการศึกษาไว้ 9 ชนิด คือ การจับคู่ การต่อภาพให้สมบูรณ์ การวางภาพต่อปลาย การเรียงลำดับ การ
จัดหมวดหมู่ การสังเกต รายละเอียดของภาพ การจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ พื้นฐานการบวก และ
การหาความสัมพันธ์ตามลำดับที่กำหนด ส่วนของโคลัมบัส ได้รวบรวมประเภทของเกมการศึกษาไว้ 6 ชนิด คือ เกมฝึกกระทำ เกมการศึกษา เกมฝึกทักษะร่างกาย เกมฝึกทักษะทางภาษา เกมทายบัตร และเกมพิเศษต่างๆ การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กโดยใช้เกมการศึกษานั้น ต้องคำนึงความเหมาะสมของเนื้อหา จุดประสงค์การเรียนการสอน วัยของผู้เรียนด้วย
 
ลักษณะที่ดีของเกม
ละออ ชุติกร ( 2536 : 4 ) กล่าวถึงลักษณะเกมที่ดีควรประกอบด้วยดังนี้
1.ช่วยให้นักเรียนเกิดความสนใจ และมีความสนุกสนานในการเล่น พร้อมทั้ง
   เป็นการฝึกทบทวนเนื้อหาด้วย
2. ใช้เวลาในช่วงสั้นๆ
3. มีคำสั่งและกติกาที่เด่นชัดไม่ซับซ้อน
4. ในการเล่นต้องมีการตรวจสอบถึงการให้คะแนนได้
5. เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมได้อย่างทั่วถึง
6. ไม่ควรเล่นเกมเสียงดังรบกวนห้องอื่น
7. มีการจัดเตรียมสถานที่สำหรับเล่นให้พร้อมอุปกรณ์
8. ในการเล่นเกมควรเป็นสิ่งง่ายๆ หรือประดิษฐ์ขึ้นเอง
9. การเล่นนั้นควรให้นักเรียนมีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย
สำเริง เวชสุนทร ( 2526 : 30 ) กล่าวถึงลักษณะเกมที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. มีคุณลักษณะพื้นฐานที่สนองเป้าหมายและจุดประสงคท์ ี่ต้องการ
2. ใช้เวลาในการเล่น 10 15 นาที
3. มีกติกาการเล่นแน่นอน ชัดเจน และเข้าใจง่าย
4. มีอุปกรณ์และสถานที่พร้อมตลอดจนราคาประหยัด
5. มีความดึงดูดใจในการเล่นเกม เช่น ความสวยงาม หรือท้าทายความสามารถทางสติปัญญาด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน
อัจฉรา ชีวพันธ์( 2526 : 27) กล่าวถึงลักษณะที่ดีของเกมควรมีลักษณะดังนี้
1. เกมต้องช่วยให้เด็กเกิดความสนใจ มีความสนุกสนานในการเล่นพร้อมทั้งเป็นการฝึกทบทวน   เนื้อหาจากบทเรียนด้วย
2. ครูควรควบคุมดูแลการเล่นให้อยู่ในขอบเขตที่จะไม่รบกวนห้องข้างเคียง
3. เกมควรให้เด็กมีความเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายบ้าง
4. ใช้เวลาในช่วงสั้นๆ มีคำสั่ง และกติกาในการเล่นชัดเจน
5. ควรใช้อุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นเองอย่างง่ายๆ แต่ใช้ในการสอนได้
6. ถ้าหากครูเห็นว่าควรใช้สถานที่นอกห้องเรียนก็ควรเตรียมสถานที่ไว้ล่วงหน้า
7. ถ้าการเล่นมีลักษณะการแข่งขัน ควรจะง่ายในการตรวจสอบและตัดสินให้คะแนน ต้องเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างทั่วถึง
จากที่กล่าวมาแล้วนั้น พอสรุปลักษณะของเกมที่ดีควรเป็นเกมที่จัดให้สอดคล้องกับ
จุดประสงค์ที่ตั้งไว้ มีวิธีการเล่นง่ายๆ ใช้เวลาสั้น เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดการ
เรียนรู้และมีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา (นที เกิดอรุณ 2538 : 18)
 
ประโยชน์ของเกม
ดวงเดือน วังสินธ์ ( 2532 : 40-42 )  กล่าวถึงประโยชน์และความสำคัญของเกม
และเกมการเล่นดังนี้
1. เพื่อเป็นการตอบสนองทางด้านอารมณ์ของเด็ก
2. เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของเด็กในหลายๆด้าน
3. เพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
4. เพื่อช่วยให้เด็กได้รับความสำเร็จในการทำงาน
5. เพื่อเป็นการเตรียมชีวิตของเด็ก
6. เพื่อให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย
ประพัฒน์ ลักษณธพิสุทธิ์ ( 2527 : 15 ) กล่าวถึงประโยชน์ของเกมดังนี้
1. ทำให้เด็กได้รับความสนุกสนาน ร่าเริง ผ่อนคลายอารมณ์ที่ตึงเครียด
2. ทำให้เด็กทุกคนได้ร่วมกิจกรรมทางกาย เพื่อเสริมทักษะขั้นพื้นฐาน
3. ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ถึงวิธีการทำงาน และเล่นร่วมกับคนอื่น
ปฏิบัติตามระเบียบ และรู้จักใช้ความคิดด้วยตนเอง
4. เปิดโอกาสให้ครูได้ศึกษาถึงพฤติกรรมที่แท้จริงของเด็ก
อัจฉรา ชีวพันธุ์( 2536 : 27) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของเกมได้ดังนี้
1. ก่อให้เกิดการพัฒนาความคิด
2. ช่วยในการฝึกทักษะทางภาษา และทบทวนเนื้อหาวิชาต่างๆ
3. เป็นกิจกรรมขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เสริมบทเรียน และสรุปบทเรียน
4. ช่วยให้เด็กได้แสดงความสามารถของแต่ละบุคคล
5. ช่วยให้ครูได้เห็นพฤติกรรมของเด็กชัดเจนยิ่งขึ้น
6. ช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน และผ่อนคลายความตึงเครียดในการเรียน
7. ช่วยให้ฝึกความรับผิดชอบและฝึกให้เด็กรู้จักการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่วางไว้
8. ช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความสามัคคีรู้จักการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน
9. ช่วยเป็นแรงจูงใจ และเร้าความสนใจของเด็ก
10. ช่วยประเมินผลการเรียนการสอน
จากข้อความดังกล่าว จะเห็นว่าเกมการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญและยังเป็นประโยชน์ใน
การ ใช้เป็นเครื่องมือในการจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นโดยลองผิดลองถูกได้สังเกต จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กค่อยๆ เกิดความเข้าใจตนเองและผู้อื่น รู้จักค้นหาเหตุผลและการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังส่งเสริมความเจริญงอกงามทางด้านสังคมของเด็กช่วยให้เด็กรู้จัก ควบคุมตนเอง คิดถึงผู้อื่น รู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆ เป็นการปลูกฝังให้เป็นคนมีวินัย รักหมู่คณะ การเล่นจึงเป็นการเรียนรู้สำหรับเด็กและเรียนอย่างมีความสุข ข้อดีของเกมช่วยให้เด็กเรียนช้าและเด็กเรียนอ่อนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
กล่าวโดยสรุป เกมการศึกษายังช่วยส่งเสริมให้ผู้เล่น มีความพร้อมที่จะเรียนด้วยความ
สนุกสนานจดจำเนื้อหาได้อย่างแม่นยำ เกมจะต้องครอบคลุมจุดประสงค์ได้หลายประการ เพื่อให้ผู้เล่นสามารถบรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดในคราวเดียวกัน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในวิชาอื่นๆ ต่อไป
 
ที่มา


http://artticcharinrut.blogspot.com/2011/07/blog-post.html

http://school.obec.go.th/sup_br3/cr_03.HTM

http://rb1curicurriculum.blogspot.com/2009/10/didactic-game.html